วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

วรรณกรรมเกียวกับพุทธศาสนา

วรรณกรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
การศึกษาวรรณกรรมช่วยให้เกิดความเข้าใจขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเป็นอยู่  แนวความคิดศิลปะและแบบอย่างการดำเนินชีวิตของคนในสังคม  วรรณกรรมเป็นเรื่องราวที่เขียนขึ้นหรือแต่งขึ้นเพื่อเป็นคติสอนใจ
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา  เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคติสอนใจคน  ซึงเป็นพื้นฐานแห่งวัฒนธรรมทางจิตใจ  วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา  ปรากฏออกมาทั้งที่ได้รับการถ่ายทอดจากคัมภีร์พระไตรปิฎก  อรรถกถา  ฎีกา  ชาดก ต่างๆโดยตรง   และที่นักปราชญ์รุ่นหลังได้ประพันธ์และมีอิทธิพล  ต่อวรรณกรรมที่เขียนขึ้นมาภายหลัง  เช่นไตรภูมิพระร่วงเป็นต้น
วรรณกรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่สำคัญควรศึกษา   มีดังนี้...
   พระไตรปิฎก  คือ   คัมภีร์คำสอนของพระพุทธเจ้า  ซึ่งแบ่งเป็น 3 หมวดคือ
๑.              พระวินัยปิฎก  เป็นคัมภีร์เกี่ยวกับกฎเกณฑ์และระเบียบวินัยสำหรับการประพฤติตนของพระภิกษุสงฆ์  และบริษัททั้งหลายที่เป็นอุบาสก  อุบาสิกา
๒.              พระสุตตันตปิฎก  เป็นคัมภีร์ว่าด้วยคำสอนทั่งไปของพระพุทธองค์  มีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวต่างๆทั้งที่เป็นคำสอนของบรรพชิต  และฆราวาส  และเป็นคำสอนอธิบายความเป็นมาของสรรพสิ่งในโลก  รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหาต่างๆในชีวิต
๓.              พระอภิธรรมปิฎก  เป็นคัมภีร์ว่าด้วยเรื่องธรรมะชั้นสูง  เป็นเรื่องจิต  เจตสิก  รูป  นิพพาน
               คัมภีร์ไตรปิฎกเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญยิ่ง เป็นแหล่งความรู้หรือวิทยาการต่างๆอย่างลุ่มลึก  และกว้างขวาง   มีอิทธิพลอย่างมากต่อวัฒนธรรมทางจิตใจของคนไทย ช่วยทำให้ประเทศไทยมีความเป็นหนึ่งทางด้านวัฒนธรรมมาตั้งแต่โบราณ..
                        ชาดก: เป็นการบันทึกเรื่องราวของพระพุทธเจ้าในชาติก่อนจัดเป็นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่งโดยได้รับการรวบรวมจากคัมภีร์พระไตรปิฎก ชาดกนั้น เป็นเรื่องคล้ายนิทานเป็นคติสอนใจ ให้คนเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน โดยยกตัวอย่างเป็นเรื่องๆ เพื่อให้คนอ่านหรือคนฟังมีความเพลิดเพลินไปด้วย
               ชาดกในพระไตรปิฎก  แบ่งเป็นหมวดเรียกว่า นิบาต หากคำสอนมีเพียงคาถาบถเดียว  เรียกว่า  เอกนิบาต ถ้ามีเกินกว่า80บาทเรียกว่า  มหานิทานชาดก  ในมหานิทานชาดกนั้นมีเรื่องใหม่ๆ  ถึง10 เรื่อง เรียกว่า  ทศชาติ  มีชื่อเรียกในประชาชนทั่วไปว่าพระเจ้ามีสิบชาติ  ในสิบชาตินี้  เวสสันดรชาดก  เป็นเรื่องหนึ่งที่แสดงบารมีที่ยอดเยี่ยมของพระพุทธเจ้า  นับเป็นทานบารมี  เวสสันดรชาดก  ได้รับการเรียบเรียงในรูปของวรรณกรรมอันไพเราะ  ตามวัดต่างๆพระนิยมเทศชาดกเรื่องนี้มาก  ซึ่งเรียกว่า เทศน์มหาชาติ  ชาดกเรื่องนี้กล่าวถึงเรื่องราวสมัยเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป้นพระเวสสันดร  ผู้มีใจกุศล  บริจาคทุกอย่างเพื่อช่วยเหลือคนยากจน
                  นอกจากนี้ก้อมีชาดกนอกนิบาตหรือนอกพระไตรปิฎก
           ไตรภูมิพระร่วง  ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณกรรมทางศาสนาที่สำคัญยิ่งเล่มหนึ่ง  จัดเป็นวรรณกรรมเล่มแรกในประวัติวรรคดีไทยพระมหาธรรมราชาที่1(พญาลิไท)ทรงแต่งขึ้นเป็นภาษาไทยก่อนขึ้นครองราชย์ โดยมีชื่อครั้งแรกว่า ไตรภูมิกถา
           ไตรภูมิพระร่วง  สันนิฐานว่าเป็นหนังสือที่เกิดจากการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลต่างๆทางพระพุทธศาสนา  นักปราชญ์บางท่านกล่าวว่า  หนังสือไตรภูมิพระร่วงเกิดจากการรวบรวมมาจากลัทธิศาสนาพราหมณ์  พุทธ  และลัทธิจีนรวม 30 คัมภีร์ 
            เนื้อหาไตรภูมิพระร่วง เกี่ยวข้องกับเรื่องกำเนิดจักรวาลกำเนิดมนุษย์ การสร้างโลกอันเป็นดินแดนซึ่งมนุษย์  สัตว์ และเทพยดาพากันเวียนว่ายตายเกิดตาบาปและบุญของตน  ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ คือ  การสอนให้คนมีศีลธรรมยึดหลักคำสอนทางศาสนาโดยเครงคัด  ให้ละเว้นความชั่วทำแต่ความดี 
             จุดมุ่งหมายของการแต่งหนังสือเล่มนี้  ก็เพื่อเผยแผ่คำสอนของศาสนาและสร้างศาสนสถาน  ซึ่งจะช่วยให้เกิดเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติในโอกาสต่อไป  หนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลมากต่อการดำเนินชีวิตของสังคมไทย  ทำให้คนคิดสร้างสมบารมีเพื่อจะได้ไปเกิดในสวรรค์  หรือในภพที่ดียิ่งขึ้น  และวิธีการสร้างสมบารมีก็คือการมีใจเมตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่คนอื่น  ให้ทาน  รักษาศีล  สร้างถาวรวัตถุ ศาสนสถานและสิ่งที่ช่วยประโยชน์แก่สาธารณชน
             หนังสือไตรภูมิพระร่วงยังมีอิทธิพลในการดลบันดาลใจ  กวีและศิลปิน คือทำให้มีการเขียนหนังสือ  แต่งบทกวี  เป็นภาพตามฝาผนังการแกะสลัก  และการปั่นรูปต่างๆ  ตามเนื้อหาที่ปรากฏในหนังสืออิกด้วย....
                               

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

การสร้างพระพุทธรูปในไทย

               การสร้างพระพุทธรูป กล่าวทางประวัติศาสตร์เริ่มต้นโดยพวกชาวกรีกซึ่งเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาในสมัยที่พระเจ้าอโศกทรงส่งพระสมณฑูตไปเผยแพร่พระพุธศาสนา  พระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งกรีกเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก  ทรงแผ่ขยายอณาเขตไปทั่งยุโรปจนถึงตอนเหนือของอินเดีย  เมื่อประมาณ พ.ศ.200 ทรงได้เมืองขึ้นที่ใด  ก็ทรงแต่งตั้งแม่ทัพนายกองให้ครองบ้านเมืองรักษาอนาเขต
            ในราว  พ.ศ.360พระเจ้ามิลินทร์(Menander)ซึ่งปกครองแคว้นธารราฐ(ปัจจุบันอยู่ในประเทศ ปากีสถาน กับ ประเทศอาฟกานิสถาน)ได้ประกาศพระองเป็นพุทธมามกะ  คือ  เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงได้ทรงสร้างพระพุทรูปขึ้นมาเป็นครั้งแรกในโลก ซึ่งเรียกว่าพระพุทธรูปแบบคันธารราฐ
            สำหรับในไทยได้ค้นพบทางประวัติศาสตร์ว่า  มีการสร้างพระพุทธรูปตามแบบของอินเดียมานานโดยพระพุทธรูปแบบต่างๆถูกเรียกตามยุคตามสมัยที่สร้างขึ้นมา...
            พระพุทธรูปสมัยทวารวดี: เชื่อกันว่า อาณาจักทวารวดีมีราชธานีอยู่ที่นครปฐม พระพุทธรูปสมัยทวารวดีนี้พบอยู่ในแถบจังหวัดภาคกลางทางตะวันตกและทางเหนือของกรุงเทพมหานคร คือ จังหวัดนครปฐม  จังหวัดกาญจนบุรี  จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เป็นต้น ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีก็มีกล่าวว่า แม้องค์พระปฐมเจดีย์เดิมที่จังหวัดนครปฐม ซึ่งองค์เดิมนั้นอยู่ด้านในพระเจดีย์องค์ใหญ่สร้างคร่อมไว้ มีลักษณะแบบอย่างสถูปสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย
          พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย   :อาณาจักรศรีวิชัยเป็อาณาจักเก่าแก่ดั่งเดิม  มีอาญาเขตอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทยปัจจุบันและทางประเทศอินโดนีเซีย  โดยมีราชธานีอยู่ที่เกาะสุมาตรา พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยพบในแถวจังหวัดนครศรีธรรมราช  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  และจังหวัดสงขลา
          พระพุทธรูปสมัยลพบุรี:  เป็นพระพุทธรูปที่เกิดจากช่างฝีมือขอม  ในสมัยที่ขอมมีอำนาจรุ่งเรื่อง  ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่จังหวัดลพบุรี  พบในตอนภาคกลางของประเทศ  และพระปรางค์สามยอดในจังหวัดลพบุรี  ก้อได้รับการสร้างขึ้นมาในสมัยเดียวกันโดยช่างฝีมือขอม..
          พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน: เป้นพระพุทธรูปที่เกิดจากช่างฝีมือคนไทยในสมัยที่คนไทยตั้งภูมิลำเนาอยู่ทางภาคพายัพและภาคล้านนาไทยตอนเหนือ
          พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย:  เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมาโดยช่างฝีมือคนไทยในยุคสุโขทัย  จัดเป็นแบบอย่างพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์  ซึ่งพ่อขุ่นรามคำแหงได้ทรงเลื่อมใสและอัญเชิญพระภิกษุลัทธิลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราชมาประกาศเผยแผ่ศาสนาที่เมืองสุโขทัย  แต่บางอย่างของพระพุทธรูปซึ่งแตกต่างจากพระพุทธรูปสมัยลังกา  คือ  พระเศียรมีรัศมียาวเป็นเปลวพระพุทธรูปองค์สำคัญในสมัยนี้คือ  พระพุทธชินสีห์และพระพุทธชินราชซึ่งมีความสวยงาม  และสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท  ในสมัยนี้ปฏิมากรรม  ศิลปกรรม  และสถาปัตยกรรม  มีความสวยงามมาก
           พระพุทธรูปสมัยอยุธยา:  ในสมัยอยุธยาตอนต้น  คือสมัยพระรามาธิบดีที่สอง  หรือพระเจ้าอู่ทอง  ช่างไทยมีฝีมือทางด้านพุทธศิลป์เด่นชัด  แต่หลังจากรัชสมัยนี้  ปฏิมากรรมทางด้านพุทธศิลป์  ไม่มีความเด่นชัดและไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก..
           พระพุทธรูปสมัยกรุงรัตนโกสิน :  พระพุทธรูปในสมัยนี้มีแแบบอย่างการสร้างที่ผสมผสานกัน ระหว่างสมัยสุโขทัยกับสมัยอยุธยา
           พระพุทธรูปต่างๆที่กล่าวมานี้มีลักษณะเด่นสวยงามและเป็นมรดกอันล้ำค่าของคนไทยทุกคน  การศึกษาพระพุทธรูป  และจัดทำให้เราภาคภูมิใจในวัฒนธรรมรุ่งเรื่องมาแต่โบราณของไทยเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งความภาคภูมิใจในพระพุทธศาสนาซึ่งเป้นบ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมหลายอย่างอันทรงคุณค่าต่อชีวิตไทย...
                                                                  

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

เกี่ยวกับการทำบุญประเภทต่างๆ-จากอานิสงส์น้อยไปหามากตามลำดับ...



๑.การตักบาตร เป็นการทำบุญเบื้องต้น ที่ทำได้ง่าย และสดวกที่สุดตามกำลังศรัทธาและกำลังทรัพย์ แล้วอุทิศส่วนกุศลที่ได้กระทำนั้นเจาะจงไปให้เจ้ากรรมนายเวรโดยเฉพาะจะทำเป้นครั้งคราว หรือทำเป้นประจำสัปดาห์หรือทุกวันก้อยิ่งดี..

๒.ถวายสังฆทาน เป็นการทำบุญที่สูงขึ้นมาอิกระดับหนึ่งต้องสละทรัพและเวลามากขึ้น ทำโดยนิมนต์พระ (ไม่เจาะจง)มารับที่บ้านหรือนำอาหารไปถวายพระที่วัด ตามแต่สะดวก

การถวายสังฆทานนัั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่ามีอานิสงส์มาก คือ ได้บุญแรง จะทำเพียงรูปเดียวเรียกว่า"อุทิศสงฆ์"หรือจะทำให้ครบสี่รูปเรียกว่า"สมมติสงฆ์"แล้วแต่กำลังทรัพย์และโอกาศที่จะกระทำได้

๓.อภัยทาน การทำบุญด้วยการปล่อยสัตว์ต่างๆเป็นทาน หมายถึงการให้ชีวิตสัตว์สัตว์เป็นทาน นับเป็นทานที่มีอานิสงส์มากขึ้นอีกระดับหหนึ่ง ซึงได้แก่การ ปล่อยเต่า ปลา นก ควาย ฯลฯ โดยเฉพาะชีวิตสัตว์ที่เขากำลังจะเอาไปฆ่าหากเราสามารถขอซื้อชีวิตเหล่านี้มาปล่อยได้ ก้อยิ่งได้บุญกุศลแรง

๔.การรักษาศีล หมายถึงการประพฤติพรหมจรรย์ การนุ่งขาวห่มขาว หากกินเจได้ก้อยิ่งดี ส่วนศีลนั้นควรรักษาศีล๕หรือศีล๘ และกุศลกรรมบถ๑๐(กายกรรม๓ วจีกรรม๔ มโนกรรม๓)ควรประพฤติตามกำลังตามความสามรถ ส่วนจะบำเพ็นกี่วันสุดแต่กำลังศรัทธา ยิ่งทำมากก้อยัิ่งดี..

๕.การเจริญธรรม หมายถึงการเจริญกรรมฐานในลักษณะต่างๆ อาทิ เจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญมรณสติ เจริญวิปัสสนา เป็นต้น..

ทั้งหมดนี้ ควรพิจารณาว่า สิ่งใดเหมาะกับตนเองและสะดวกที่จะปฏิบัติ ที่สำคัญตนเองอยู่ในฐานะที่จะทำได้โดยไม่เดือดร้อนต่อฐานะความเป็นอยู่ ก้อควรกระทำสิ่งนั้นๆก่อน แล้วค่อยพยายามเลื่อนการกระทำบุญนั้นให้สูงขึ้นไป มหากุศลก้อยิ่งสังสมมากขึ้นตามลำดับ..
                              จาก.......คริมานนทสูตร...โดย  พ.สุวรรณ