วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

การสร้างพระพุทธรูปในไทย

               การสร้างพระพุทธรูป กล่าวทางประวัติศาสตร์เริ่มต้นโดยพวกชาวกรีกซึ่งเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาในสมัยที่พระเจ้าอโศกทรงส่งพระสมณฑูตไปเผยแพร่พระพุธศาสนา  พระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งกรีกเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก  ทรงแผ่ขยายอณาเขตไปทั่งยุโรปจนถึงตอนเหนือของอินเดีย  เมื่อประมาณ พ.ศ.200 ทรงได้เมืองขึ้นที่ใด  ก็ทรงแต่งตั้งแม่ทัพนายกองให้ครองบ้านเมืองรักษาอนาเขต
            ในราว  พ.ศ.360พระเจ้ามิลินทร์(Menander)ซึ่งปกครองแคว้นธารราฐ(ปัจจุบันอยู่ในประเทศ ปากีสถาน กับ ประเทศอาฟกานิสถาน)ได้ประกาศพระองเป็นพุทธมามกะ  คือ  เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงได้ทรงสร้างพระพุทรูปขึ้นมาเป็นครั้งแรกในโลก ซึ่งเรียกว่าพระพุทธรูปแบบคันธารราฐ
            สำหรับในไทยได้ค้นพบทางประวัติศาสตร์ว่า  มีการสร้างพระพุทธรูปตามแบบของอินเดียมานานโดยพระพุทธรูปแบบต่างๆถูกเรียกตามยุคตามสมัยที่สร้างขึ้นมา...
            พระพุทธรูปสมัยทวารวดี: เชื่อกันว่า อาณาจักทวารวดีมีราชธานีอยู่ที่นครปฐม พระพุทธรูปสมัยทวารวดีนี้พบอยู่ในแถบจังหวัดภาคกลางทางตะวันตกและทางเหนือของกรุงเทพมหานคร คือ จังหวัดนครปฐม  จังหวัดกาญจนบุรี  จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เป็นต้น ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีก็มีกล่าวว่า แม้องค์พระปฐมเจดีย์เดิมที่จังหวัดนครปฐม ซึ่งองค์เดิมนั้นอยู่ด้านในพระเจดีย์องค์ใหญ่สร้างคร่อมไว้ มีลักษณะแบบอย่างสถูปสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย
          พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย   :อาณาจักรศรีวิชัยเป็อาณาจักเก่าแก่ดั่งเดิม  มีอาญาเขตอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทยปัจจุบันและทางประเทศอินโดนีเซีย  โดยมีราชธานีอยู่ที่เกาะสุมาตรา พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยพบในแถวจังหวัดนครศรีธรรมราช  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  และจังหวัดสงขลา
          พระพุทธรูปสมัยลพบุรี:  เป็นพระพุทธรูปที่เกิดจากช่างฝีมือขอม  ในสมัยที่ขอมมีอำนาจรุ่งเรื่อง  ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่จังหวัดลพบุรี  พบในตอนภาคกลางของประเทศ  และพระปรางค์สามยอดในจังหวัดลพบุรี  ก้อได้รับการสร้างขึ้นมาในสมัยเดียวกันโดยช่างฝีมือขอม..
          พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน: เป้นพระพุทธรูปที่เกิดจากช่างฝีมือคนไทยในสมัยที่คนไทยตั้งภูมิลำเนาอยู่ทางภาคพายัพและภาคล้านนาไทยตอนเหนือ
          พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย:  เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมาโดยช่างฝีมือคนไทยในยุคสุโขทัย  จัดเป็นแบบอย่างพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์  ซึ่งพ่อขุ่นรามคำแหงได้ทรงเลื่อมใสและอัญเชิญพระภิกษุลัทธิลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราชมาประกาศเผยแผ่ศาสนาที่เมืองสุโขทัย  แต่บางอย่างของพระพุทธรูปซึ่งแตกต่างจากพระพุทธรูปสมัยลังกา  คือ  พระเศียรมีรัศมียาวเป็นเปลวพระพุทธรูปองค์สำคัญในสมัยนี้คือ  พระพุทธชินสีห์และพระพุทธชินราชซึ่งมีความสวยงาม  และสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท  ในสมัยนี้ปฏิมากรรม  ศิลปกรรม  และสถาปัตยกรรม  มีความสวยงามมาก
           พระพุทธรูปสมัยอยุธยา:  ในสมัยอยุธยาตอนต้น  คือสมัยพระรามาธิบดีที่สอง  หรือพระเจ้าอู่ทอง  ช่างไทยมีฝีมือทางด้านพุทธศิลป์เด่นชัด  แต่หลังจากรัชสมัยนี้  ปฏิมากรรมทางด้านพุทธศิลป์  ไม่มีความเด่นชัดและไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก..
           พระพุทธรูปสมัยกรุงรัตนโกสิน :  พระพุทธรูปในสมัยนี้มีแแบบอย่างการสร้างที่ผสมผสานกัน ระหว่างสมัยสุโขทัยกับสมัยอยุธยา
           พระพุทธรูปต่างๆที่กล่าวมานี้มีลักษณะเด่นสวยงามและเป็นมรดกอันล้ำค่าของคนไทยทุกคน  การศึกษาพระพุทธรูป  และจัดทำให้เราภาคภูมิใจในวัฒนธรรมรุ่งเรื่องมาแต่โบราณของไทยเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งความภาคภูมิใจในพระพุทธศาสนาซึ่งเป้นบ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมหลายอย่างอันทรงคุณค่าต่อชีวิตไทย...
                                                                  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น